ลิขสิทธิ์มูลนิธิวิภาวดีรังสิต" สงวนลิขสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 vibhavadirangsitfoundation.com
ซ่อนหน้าต่าง

 

          เช้าวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2520 พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิตจะเสด็จไปเยี่ยมเยียนทหาร ตำรวจตระเวนชายแดน ตำรวจภูธร และประชาชนตามปกติที่อำเภอเวียงสระ สุราษฎร์ธานี ทรงได้รับรายงานข่าวว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดน 2 คน ถูกกับระเบิดบาดเจ็บสาหัส เกรงว่าจะได้รับอันตรายถึงชีวิตหากมิได้รับการรักษาพยาบาลให้ทันท่วงที จึงทรงให้นักบินนำเฮลิคอปเตอร์ร่อนลงเพื่อรับคนเจ็บนำส่งโรงพยาบาล แต่ในขณะที่นักบินนำเครื่องร่อนลงต่ำที่บ้านเหนือคลอง ได้ถูกผู้ก่อการร้ายซึ่งซุ่มอยู่ภาคพื้นดินระดมยิงอย่างหนาแน่น

          กระสุนปืนของผู้ก่อการร้ายถูกเฮลิคอปเตอร์และทะลุเข้ามาถูกพระองค์เจ้าวิภาวดีฯ เป็นแผลฉกรรจ์ นักบินได้นำเฮลิคอปเตอร์ลงฉุกเฉินที่สนามหน้าโรงเรียนวัดบ้านส้องเพราะเครื่องชำรุดบินต่อไม่ได้
หลวงพ่อฤๅษีลิงดำกับหลวงปู่ครูบาธรรมไชยกับนายแพทย์และพนักงานอนามัย อำเภอเวียงสระ นายอำเภอเวียงสระกับภรรยาได้เดินทางไปถึง ครั้นแล้วเฮลิคอปเตอร์ลำใหม่ก็ได้บินไปรับพระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิตเพื่อนำไปโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

          ในนาทีสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพพระองค์หญิงตรัสแก่หลวงพ่อ หลวงปู่ของให้ช่วยกราบถวายบังคมลาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จฯ ท่านชายและท่านแม่ แล้วทรงขอไปนิพพาน ท้ายสุดรับสั่งว่า “สว่างแล้วๆ เห็นนิพพานแล้ว พระนิพพานมีความสวยสดงดงามแจ่มใสเหลือเกิน..” แล้วที่สุดก็สิ้นพระชนม์บนเฮลิคอปเตอร์ที่นำเสด็จกลับสู่จังหวัดสุราษฎร์ธานีนั้นเอง ได้มีการอัญเชิญพระศพไปแต่งบาดแผลที่โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี ได้ถวายธงชาติคลุมพระศพ และทางราชการตำรวจได้นำพระศพมาทางเครื่องบินสู่ท่าอากาศยานดอนเมืองในตอนเย็นวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2520 แล้วได้อัญเชิญพระศพไปยังโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อแต่งบาดแผลและเปลี่ยนฉลองพระองค์และอัญเชิญเข้าสู่วังวิทยุ

ลิขสิทธิ์มูลนิธิวิภาวดีรังสิต
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงรอรับพระศพ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

 

ลิขสิทธิ์มูลนิธิวิภาวดีรังสิต
พิธีสรงน้ำศพที่วังวิทยุ

ลิขสิทธิ์มูลนิธิวิภาวดีรังสิต

          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานโกศมณฑปและตั้งพระศพที่พระที่นั่งทรงธรรมวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เพื่อบำเพ็ญพระราชกุศลตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ และในโอกาสนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานพวงมาลาดอกไม้สด พวงมาลาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีคำสดุดีจากตอนหนึ่งในเพลงพระราชนิพนธ์ “ความฝันอันสูงสุด”

 จะแน่วแน่แก้ไขในสิ่งผิด จะรักชาติจนชีวิตเป็นผุยผง
จะยอมตายหมายให้เกียรติดำรง จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา

ส่วนพวงมาลาของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีคำไว้อาลัย

ทิวาวารผ่านมาเยือนหล้าโลก พร้อมความโศกสลดให้หฤทัยหาย
อริราชพิฆาตร่างท่านวางวาย แสนเสียดายชีพกล้าวิภาวดี
          ประชาชนผู้ตระหนักในคุณงามความดีของพระองค์หญิงต่างก็ไปคารวะพระศพรวมทั้งชาวสุราษฎร์ธานีซึ่งพร้อมใจกันมาเป็นจำนวนนับร้อยเพื่อร่วมในการบำเพ็ญกุศลถวายและได้พากันเข้าไปกราบพระศพด้วยน้ำตานองหน้า

          ข่าวการสิ้นพระชนม์ของพระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิตแพร่สะพัดไปทั่วประเทศอย่างรวดเร็ว สถานีโทรทัศน์ได้แพร่ภาพเมื่อพระศพได้รับการอัญเชิญมาถึงท่าอากาศยานดอนเมืองพร้อมทั้งรายงานข่าวโดยละเอียด หนังสือพิมพ์รายวันทุกฉบับที่ออกในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2520 พาดหัวข่าวตัวใหญ่ เช่น เดลิไทม์ พาดหัวว่า “ผกค. ฆ่า ม.จ.วิภาวดี” สิ้นชีพบน ฮ. สั่งกราบบังคมทูล “ขอลาตาย” และดาวสยาม พาดหัวข่าวว่า “ร่ำไห้ทั้งเมืองไว้ทุกข์ 15 วัน ” ตั้ง “วันวีรสตรีวิภาวดี”
          ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2520 และทรวงพระกรุณาฯ ประกอบพิธีพระราชทานเพลิงในเมรุวัดพระศรีมหาธาตุพร้อมตำรวจ ทหาร พลเมือง และอาสาสมัครที่เสียชีวิตโดยการกระทำของผู้ก่อการร้ายในวันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน 2520

ลิขสิทธิ์มูลนิธิวิภาวดีรังสิต
สมเด็จพระบรมโฮรสาธิราชฯ สยามมงกุฏราชกุมาร
และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายา
เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม

ลิขสิทธิ์มูลนิธิวิภาวดีรังสิตลิขสิทธิ์มูลนิธิวิภาวดีรังสิต

ลิขสิทธิ์มูลนิธิวิภาวดีรังสิต

พวงมาลาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว                                     โกศพระศพ                                     พวงมาลาจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ  

          เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่พระองค์หญิง ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และจากต่างประเทศ

16 กรกฎาคม 2496

- เครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์ ชั้นที่ 3

9 พฤษภาคม 2500

- เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3

19 กรกฎาคม 2503
จากประเทศอังกฤษ

- HONORARY COMMANDER OF THE ROYAL VICTORIAN ORDER

21 กรกฎาคม 2503
จากประเทศเยอรมนี

- DAS GROSSE VERDIENKREUZ MIT STERN
(ORDER OF MERIT WITH STAR)

3 กันยายน 2503
จากประเทศสวีเดน

- KOMMENDOR AV KUNGL NORDSTJARNEORDEN
(COMMANDER OF THE ROYAL NORTH STAR ORDER)

22 กันยายน 2503
จากประเทศอิตาลี

- GRANDE UFFICIALE DELL’ ORDINE AL MERITO DELLA REPUBBLICA ITALIANA
(GRAND OFFICER OF THE ORDER OF MERIT OF THE REPUBLIC OF ITALY)

17 ตุลาคม 2503
จากประเทศลักเซ็มเบอร์ก

- “CROIX D’ HONNEUR” DE NOTRE ORDRE DE MERITE CIVIL ET MILITAIRE D’ ADOLPHE DE NASSAU (CROSS OF HONOUR)

24 ตุลาคม 2503
จากประเทศโปรตุเกส

- GRANDE OFICIAL DA ORDEM DO INFANTE D. HENRIQUE
(GRAND OFFICER, ORDER OF INFANTE D. HENRIQUE)

24 ตุลาคม 2503
จากประเทศเนเธอร์แลนด์

- GROOTKRUIS IN DE HUISORDE VAN ORANJE
(GRAND CROSS OF THE HOUSE OF ORANGE)

3 พฤศจิกายน 2503
จากประเทศเดนมาร์ก

- LIL KOMMANDOR AF DANNEBROG ORDENEN
(COMMANDER OF THE ORDER OF DANNEBROG)

16 พฤศจิกายน 2503
จากประเทศเบลเยี่ยม

- GRANDE- CROIX DE L’ORDRE DE LEOPOLD II
(GRAND CROSS OF THE ORDER OF LEOPOLD II)

พฤศจิกายน 2503
จากประเทศสเปน

- LAZO DE DAMA OF THE ORDER OF “ISABEL LA CATOLICA”

5 พฤษภาคม 2504

- เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า

24 กันยายน 2507
จากประเทศออสเตรีย

- DAS GROSSGOLDENE EHRENZEICHEN MIT DEM STERN FUR VERDIENSTE UM DIE REPUBLIK OSTERREICH
(GRAND DECORATION OF HONOUR IN GOLD WITH STAR FOR SERVICES TO THE REPUBLIC OF AUSTRIA)

11 พฤศจิกายน 2508
จากประเทศกรีส

- THE CROSS OF THE HIGHEST ARCHANGRL OF OUR PEOPLE

เมษายน 2510
จากประเทศอิหร่าน

- HAFT PEKAR ชั้นสาม

5 พฤษภาคม 2511

- เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ

10 กุมภาพันธ์ 2515
จากประเทศอังกฤษ

- HONORARY DAME COMMANDER OF THE ROYAL VICTORIAN ORDER

หลังสิ้นพระชนม์แล้ว

14 มีนาคม 2520

- มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้เป็นนายกองเอกกองอาสารักษาดินแดง

4 เมษายน 2520

- มีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้สถาปนาหม่อมเจ้าวิภาวดี รังสิต เป็น พระเจ้าวรวงค์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต

4 เมษายน 2520

- เครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ ช้างเผือก

4 เมษายน 2520

- ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์มหาจักรีบรมราชวงศ์

          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาหม่อมเจ้าวิภาวดี รังสิต เป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต ในวันที่ 4 เมษายน 2520 เพื่อเป็นการเผยแพร่พระเกียรติคุณ และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาจักรีบรมราชวงศ์ และประถมาภรณ์ช้างเผือก

          ในประกาสกระแสพระบรมราชโองการสถาปนาพระอิสริยศักดิ์ ได้กล่าวสดุดีความรอบรู้ด้านอักษรศาสตร์ทางภาษาต่างประเทศ ความสามารถในการประพันธ์หนังสือหลายเล่มซึ่งเป็นที่นิยมอย่างสูงของผู้อ่าน ได้ทรงรับราชการสนองพระเดชพระคุณใกล้ชิดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถด้วยความจงรักภักดีตลอดมา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ นับว่าทรงเป็นผู้ที่มีส่วนช่วยในการเผยแพร่เกียรติภูมิของชาติ ยอกจากนี้ยังมีพระทัยเปี่ยมด้วยเมตตากรุณาทางห่วงใยความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไป ได้ทรงปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายด้วยความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว ไม่หวาดเกรงความยากลำบาก และบางครั้งต้องเสี่ยงอันตรายต่อชีวิตเพื่อเข้าไปตรวจเยี่ยมบำรุงขวัญและประทานสิ่งของแก่เจ้าหน้าที่พลเรือน ตำรวจทหาร สมาชิกกองอาสารักษาดินแดนและประชาชนในเขตที่มีผู้ก่อการร้ายปฏิบัติการอย่างรุนแรงก็ตาม


ลิขสิทธิ์มูลนิธิวิภาวดีรังสิต
พระอนุสาวรีย์ ณ วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์  อำเภอดอนสัก  จังหวัดสุราษฎร์ธานี

          เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งคุณงามความดีของพระองค์ รัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียรได้ทั้งชื่อถนนซุปเปอร์ไฮเวย์จากดินแดงถึงรังสิตว่า “ถนนวิภาวดีรังสิต” ชาวสุราษฎรธานีได้กำหนดวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็น “วันวิภาวดี” เพื่อสดุดีและบำเพ็ญกุศลถวาย ปัจจุบันมีอนุสาวรีย์พระองค์หญิงที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ณ สถานที่ดังต่อไปนี้

               โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช อำเภอเวียงสระ
               โรงพยาบาลพระแสง อำเภอพระแสง
               ศาลาวิภาวดี วัดบ้านส้อง อำเภอเวียงสระ
               วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ (วัดดอนสัก) อำเภอดอนสัก

          หม่อมเจ้าปิยะรังสิต รังสิต พระสวามี ได้ทรงก่อตั้งมูลนิธิวิภาวดีขึ้นเพื่อสืบทอดงานพระองค์หญิงในด้านการพัฒนาและช่วยเหลือประชาชนในท้องถิ่นทุรกันดารและเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระองค์ท่านสืบต่อไป